วันอังคารที่ 11 เดือนกุมภาพันธ์ 2557
เด็กแอลดี (LD : Learning Disability)โดย Momypedia
สาเหตุของโรคแอลดีเด็กแอลดี (LD : Learning Disability) หรือ เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน
โรคแอลดีเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใดหรือมีความผิดปกติอย่างไร พบว่ามักจะอยู่ในกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด หรือสมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ ได้รับสารพิษ เป็นต้นเด็กแอลดีไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน มีสติปัญญาปกติหรือมากกว่าปกติ และไม่ได้พิการใดๆ ทั้งสิ้น สาเหตุจะต้องมาจากความผิดปกติของสมองเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่การอยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการดูแล หรือ เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียน อาจเกิดจากระบบการสอนที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามวัย อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการเรียนได้ เช่น การเร่งให้เด็กเขียนหนังสือในขณะที่พัฒนาการกล้ามเนื้อของเด็กยังไม่พร้อม เป็นต้น จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่มของเด็กแอลดี
โรคแอลดีเป็นโรคที่ติดตัวเด็กไปจนโต การรักษาในวัยเด็กระยะแรกจะสามารถช่วยได้ เพราะเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจประสบความสำเร็จในด้านการเรียนและด้านอื่นๆ ได้ แต่กความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นเสมือนโรคที่ซ่อนเร้น บางครั้งพบว่าเด็กไม่แสดงอาการชัดแจ้ง แต่ควรสังเกตและตรวจสอบตั้งแต่เด็กยังเล็กอยู่ว่าเข้าข่ายเหล่านี้หรือไม่พ่อแม่ คนในครอบครัว หรือญาติผู้ใหญ่ มีประวัติเป็นแอลดีแม่มีอายุน้อยมากเด็กมีน้ำหนักแรกเกิดเท่าไร น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์มากไหม
เด็กมีภาวะความบาดเจ็บทางสมองจากการคลอดก่อนหรือหลังกำหนดเด็กเคยเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของอวัยวะ เช่น หู ซึ่งสามารถสร้างความกระทบกระเทือนไปถึงสมองบางส่วนหรือไม่
เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ เช่น มลพิษจากสารตะกั่ว เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสังเกตได้จากพัฒนาการของเด็กว่า เป็นไปตามปกติหรือไม่ โดยเฉพาะด้านสติปัญญาที่จะส่งผลสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านอื่นๆ เช่น
วัยอนุบาล
เด็กสามารถพูดคุยออกเสียงได้ชัดเจน สื่อสารได้ เข้าใจนิทานหรือเรื่องอิงจินตนาการที่พ่อแม่เล่าให้ฟัง
ความเข้าใจเรื่องมิติสัมพันธ์ รู้จักด้านซ้าย ด้านขวา ไม่ใส่รองเท้าสลับข้าง เขียนอักษรได้ถูกต้อง ไม่สลับทิศทาง เป็นต้น
การทำงานประสานกันระหว่างตาและมือ และการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถนับเลขจำนวนง่ายๆ ได้ เช่น นับ 1-10 ได้ เป็นต้น
วัยประถม
เด็กมีความสนใจหรือใส่ใจมากน้อยแค่ไหน พ่อแม่ผู้ปกครองควรดูที่โจทย์การบ้านว่ามีความยากง่ายอย่างไร แล้วเปรียบเทียบว่าเด็กใช้เวลาทำการบ้านนานเกินไปหรือไม่
เด็กมีความเข้าใจในบทเรียนต่างๆ มากน้อยแค่ไหน เมื่อถูกซักถาม สามารถอธิบายได้หรือไม่
เด็กวัยประถมควรอ่านสะกดคำได้ อ่านแล้วสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์ความเป็นมาก่อนหรือหลังได้อย่างเข้าใจ
มีความเข้าใจเรื่องการคิดคำนวณ บวก ลบ คูณ หารเลขลักหน่วย หลักสิบ เป็นต้น
ข้อสังเกตและอาการบ่งชี้
เด็กแอลดีอาจแสดงออกมาเป็นความบกพร่องทางการฟัง การพูด การเขียน การคำนวณ เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนทำให้เรียนไม่ได้ตามศักยภาพที่มีอยู่ เด็กพวกนี้ถึงแม้จะเรียนพร้อมกับเด็กคนอื่น แต่ก็เรียนรู้ไม่ได้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดงนี้
1. ด้านการอ่าน (Dislexia)
อาจจะอ่านไม่ออกหรืออ่านได้บ้าง สะกดคำไม่ถูก ผสมคำไม่ได้ สลับตัวพยัญชนะ สับสนกับการผันสระ อ่านตกหล่น ข้ามคำ อ่านไม่ได้ใจความจนถึงขั้นอ่านไม่ออกเลย
อ่านช้า ลำบากในการอ่าน จะต้องสะกดคำก่อนจึงจะอ่านได้
อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
อ่านเดาจากอักษรตัวแรก เช่น บาท เป็นบทที่, เมื่อนั้น เป็น บัดนั้น
อ่านข้าม อ่านเพิ่ม อ่านสลับคำ เช่น กรน อ่านเป็น นรก, กลม เป็น กมล เพราะความสามารถในการรับตัวหนังสือเข้าไปแล้วแปลเป็นตัวอักษรเสียไป
ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
อ่านแล้วจับใจความสำคัญหรือเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่านไม่ได้
สำหรับเด็กที่มีความสามารถในการคำนวณ แต่มีปัญหาในการอ่าน ก็ไม่สามารถทำคะแนนได้ดีเวลาสอบ เนื่องจากโจทย์ที่ให้ต้องอ่านเพื่อตีความหมาย
2. ด้านการเขียนและการสะกดคำ (Disgraphia)
รู้ว่าจะเขียนอะไร แต่เขียนไม่ได้ เขียนตก เขียนพยัญชนะสลับกัน บางคนเขียนแบบสลับซ้ายเป็นขวาเหมือน ส่องกระจก เกิดจากมือและสายตาทำงานไม่ประสานกัน เขียนกลับหลัง เขียนพยัญชนะ สระวรรณยุกต์ สลับตำแหน่งกัน (เด็กกลุ่มนี้มักจะเริ่มสังเกตเห็นปัญหาได้ชัดเจนตอนเริ่มเข้าเรียน) เช่น ก ไก่ เขียนหันหัวไปทางขวาแทนที่จะเป็นทางซ้าย
ลากเส้นวนๆ ซ้ำๆ ไม่แน่ใจว่าจะเขียนหัวเข้าหรือหัวออก เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น น เป็น ม, ภ เป็น ถ, ด เป็น ค, b เป็น d, 6 เป็น 9 เป็นต้น
เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
เขียนเรียงลำดับ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนทีละตัวได้
เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวหนังสือเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ไม่มีช่องไฟ
จับดินสอแน่นมาก ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายๆ ครั้ง
สะกดคำผิด เช่น บดบาด (บทบาท) แพด (แพทย์)
3. ด้านการคำนวณ (Discalculia) อาจจะคำนวณไม่ได้เลย หรือทำได้แต่สับสนกับตัวเลข ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข ไม่สามารถจับหลักการ บวก ลบ คูณ หารได้
เขียนตัวเลขผิด ไม่เข้าใจเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ค่าของตัวเลขหลักต่างๆ หรือไม่เข้าใจวิธีการคำนวณตัวเลข
นับเลขไปข้างหน้าหรือนับย้อนหลังไม่ได้
จำสูตรคูณไม่ได้
จะคำนวณเลขจากซ้ายไปขวา แทนที่จะเป็นจากขวาไปซ้าย
ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
เขียนเลขสลับตำแหน่งกัน เช่น จาก 12 เป็น 21
เอาตัวเลขน้อยลบออกจากตัวเลขมาก เช่น 35-8 =27 เด็กจะเอา 5 ลบออก 8 เพราะมองว่า 5 เป็นเลขจำนวนน้อย แทนที่จะมองว่า 5 เป็นตัวแทนของ 15
การวินิจฉัยทางการแพทย์
ปัญหาบกพร่องด้านการเรียนรู้ แพทย์จะซักประวัติโดยละเอียดก่อน เพื่อตรวจสอบว่าการบกพร่องด้านการเรียนรู้นี้เป็นปัญหาที่เกิดจากสภาวะแวดล้อมส่งผลต่อการเรียนหรือไม่
ปัญหาสภาวะแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเรียน
มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน เป็นผลทำให้ต้องขาดเรียนบ่อย เรียนไม่ทันเพื่อน
กินยารักษาโรคบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วง
ครอบครัวหย่าร้าง พ่อแม่ทะเลาะกัน ทำร้ายร่างกาย ตบตี กระทำทารุณ
ครูไม่เอาใจใส่เด็ก
ถูกเพื่อนแกล้ง
หากพบว่าการบกพร่องด้านการเรียนรู้ ไม่ได้เกิดจากปัญหาสภาวะแวดล้อมเหล่านี้ ก็จะทำการทดสอบไอคิว ถ้าผลออกมาว่า การอ่าน การเขียน การฟัง ไม่สัมพันธ์กับไอคิว เด็กอาจจะเป็นโรคแอลดี และอาจมีปัญหาที่สมองของเด็กจริง
การช่วยเหลือทางจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว
พ่อแม่จะต้องช่วยให้เด็กผ่านช่วงวัยเรียนไปให้ได้ เพราะเมื่อผ่านได้แล้ว เด็กไม่ได้ต้องสอบ ปัญหาต่างๆ ก็จะลดน้อยลงไปตามวัย
สร้างให้ช่วงวัยเรียนของเด็กมีความสุขที่สุด มีปัญหาน้อยที่สุด ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ คิดว่าตนเองมีคุณค่า นับถือตัวเอง และภาคภูมิใจในตนเอง
พ่อแม่ต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับเรื่องของ อีคิว (EQ) มากกว่าผลการเรียนดีเลิศของเด็ก
พ่อแม่ต้องใจเย็น ใช้ความอดทนสูง ให้ความรักและเข้าใจเด็ก ไม่ดุด่า ไม่หยิก ไม่ตี
พ่อแม่ต้องไม่คาดหวังมาก สร้างให้เด็กสามารถมีชีวิตได้เองโดยลำพัง ไม่เป็นภาระของผู้อื่น สามารถอยู่ในสังคมได้
ปลอดภัยจากสารพิษ เล่นเด็กเล่นอยู่ในสถานที่ปลอดภัย ห่างไกลมลพิษ ไม่ให้อยู่ในสถานที่ๆ มีสารตะกั่วนานเกินไป อย่างริมถนนที่รถพลุกพล่าน ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง
เวลาทองของครอบครัว คุณพ่อคุณแม่มีบทบาทสำคัญในการจัดสรรเวลาของครอบครัว มีกิจกรรมทำร่วมกัน เช่น การเล่นบทบาทสมมติ การอ่านหนังสือ เล่านิทาน สอนให้เด็กมีทักษะการคิด การคำนวณ ขีดเขียนวาดภาพ หรือเล่นเกมสังเกตและทายสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น
งานบ้านฝึกสมอง ให้เด็กช่วยทำงานบ้านง่ายๆ ที่ส่งเสริมทักษะการใช้ความคิด และกระตุ้นพัฒนาการของสมองอย่างสม่ำเสมอ ช่วยจัดช้อนส้อม เก็บจานชามเข้าที่ หรือช่วยจัดโต๊ะอาหาร เป็นต้น
การช่วยเหลือทางด้านการเรียน
แพทย์จะประสานกับโรงเรียน แจ้งผลการตรวจแก่ครู และขอความร่วมมือในการปรับวิธีการเรียนการสอนให้เหมาะสม
เรียนในโรงเรียนที่ครูเข้าใจและพร้อมจะช่วยเหลือ ถือเป็นหัวใจสำคัญ หากครูเข้าใจและให้ความร่วมมือ เด็กจะรู้สึกดีต่อตัวเองและรู้ตัวว่าสามารถเรียนหนังสือได้
พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู จะต้องเข้าใจ พยายามช่วยเหลือเด็ก สร้างให้เด็กมั่นใจในตัวเอง รวมกลุ่ม และทำงานกับเพื่อนได้
การอ่าน ครูต้องช่วยอ่านโจทย์ให้ฟังเวลาสอบ เด็กจะสามารถเข้าใจและตอบข้อสอบนั้นได้
ปรับวิธีการสอน การอ่านคำ เช่น แทนที่จะสอนให้รู้จักการผสมคำ ต้องสอนให้ใช้วิธีจำเป็นคำๆไป
กระตุ้นสมองด้วยจินตนาการ ด้วยการเล่น โดยเฉพาะการเล่นจากการใช้จินตนาการ ฟังนิทาน ต่อบล็อก และอื่นๆ ที่จะให้เด็กใช้จินตนาการ หลีกเลี่ยงการให้เด็กเล่นเกม คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ เพราะจะเป็นการปิดการจินตนาการของเด็ก
ความเข้าใจเรื่องมิติสัมพันธ์ รู้จักด้านซ้าย ด้านขวา ไม่ใส่รองเท้าสลับข้าง เขียนอักษรได้ถูกต้อง ไม่สลับทิศทาง เป็นต้น
การทำงานประสานกันระหว่างตาและมือ และการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถนับเลขจำนวนง่ายๆ ได้ เช่น นับ 1-10 ได้ เป็นต้น
วัยประถม
เด็กมีความสนใจหรือใส่ใจมากน้อยแค่ไหน พ่อแม่ผู้ปกครองควรดูที่โจทย์การบ้านว่ามีความยากง่ายอย่างไร แล้วเปรียบเทียบว่าเด็กใช้เวลาทำการบ้านนานเกินไปหรือไม่
เด็กมีความเข้าใจในบทเรียนต่างๆ มากน้อยแค่ไหน เมื่อถูกซักถาม สามารถอธิบายได้หรือไม่
เด็กวัยประถมควรอ่านสะกดคำได้ อ่านแล้วสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์ความเป็นมาก่อนหรือหลังได้อย่างเข้าใจ
มีความเข้าใจเรื่องการคิดคำนวณ บวก ลบ คูณ หารเลขลักหน่วย หลักสิบ เป็นต้น
ข้อสังเกตและอาการบ่งชี้
เด็กแอลดีอาจแสดงออกมาเป็นความบกพร่องทางการฟัง การพูด การเขียน การคำนวณ เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนทำให้เรียนไม่ได้ตามศักยภาพที่มีอยู่ เด็กพวกนี้ถึงแม้จะเรียนพร้อมกับเด็กคนอื่น แต่ก็เรียนรู้ไม่ได้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดงนี้
1. ด้านการอ่าน (Dislexia)
อาจจะอ่านไม่ออกหรืออ่านได้บ้าง สะกดคำไม่ถูก ผสมคำไม่ได้ สลับตัวพยัญชนะ สับสนกับการผันสระ อ่านตกหล่น ข้ามคำ อ่านไม่ได้ใจความจนถึงขั้นอ่านไม่ออกเลย
อ่านช้า ลำบากในการอ่าน จะต้องสะกดคำก่อนจึงจะอ่านได้
อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
อ่านเดาจากอักษรตัวแรก เช่น บาท เป็นบทที่, เมื่อนั้น เป็น บัดนั้น
อ่านข้าม อ่านเพิ่ม อ่านสลับคำ เช่น กรน อ่านเป็น นรก, กลม เป็น กมล เพราะความสามารถในการรับตัวหนังสือเข้าไปแล้วแปลเป็นตัวอักษรเสียไป
ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
อ่านแล้วจับใจความสำคัญหรือเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่านไม่ได้
สำหรับเด็กที่มีความสามารถในการคำนวณ แต่มีปัญหาในการอ่าน ก็ไม่สามารถทำคะแนนได้ดีเวลาสอบ เนื่องจากโจทย์ที่ให้ต้องอ่านเพื่อตีความหมาย
2. ด้านการเขียนและการสะกดคำ (Disgraphia)
รู้ว่าจะเขียนอะไร แต่เขียนไม่ได้ เขียนตก เขียนพยัญชนะสลับกัน บางคนเขียนแบบสลับซ้ายเป็นขวาเหมือน ส่องกระจก เกิดจากมือและสายตาทำงานไม่ประสานกัน เขียนกลับหลัง เขียนพยัญชนะ สระวรรณยุกต์ สลับตำแหน่งกัน (เด็กกลุ่มนี้มักจะเริ่มสังเกตเห็นปัญหาได้ชัดเจนตอนเริ่มเข้าเรียน) เช่น ก ไก่ เขียนหันหัวไปทางขวาแทนที่จะเป็นทางซ้าย
ลากเส้นวนๆ ซ้ำๆ ไม่แน่ใจว่าจะเขียนหัวเข้าหรือหัวออก เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น น เป็น ม, ภ เป็น ถ, ด เป็น ค, b เป็น d, 6 เป็น 9 เป็นต้น
เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
เขียนเรียงลำดับ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนทีละตัวได้
เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวหนังสือเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ไม่มีช่องไฟ
จับดินสอแน่นมาก ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายๆ ครั้ง
สะกดคำผิด เช่น บดบาด (บทบาท) แพด (แพทย์)
3. ด้านการคำนวณ (Discalculia) อาจจะคำนวณไม่ได้เลย หรือทำได้แต่สับสนกับตัวเลข ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข ไม่สามารถจับหลักการ บวก ลบ คูณ หารได้
เขียนตัวเลขผิด ไม่เข้าใจเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ค่าของตัวเลขหลักต่างๆ หรือไม่เข้าใจวิธีการคำนวณตัวเลข
นับเลขไปข้างหน้าหรือนับย้อนหลังไม่ได้
จำสูตรคูณไม่ได้
จะคำนวณเลขจากซ้ายไปขวา แทนที่จะเป็นจากขวาไปซ้าย
ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
เขียนเลขสลับตำแหน่งกัน เช่น จาก 12 เป็น 21
เอาตัวเลขน้อยลบออกจากตัวเลขมาก เช่น 35-8 =27 เด็กจะเอา 5 ลบออก 8 เพราะมองว่า 5 เป็นเลขจำนวนน้อย แทนที่จะมองว่า 5 เป็นตัวแทนของ 15
การวินิจฉัยทางการแพทย์
ปัญหาบกพร่องด้านการเรียนรู้ แพทย์จะซักประวัติโดยละเอียดก่อน เพื่อตรวจสอบว่าการบกพร่องด้านการเรียนรู้นี้เป็นปัญหาที่เกิดจากสภาวะแวดล้อมส่งผลต่อการเรียนหรือไม่
ปัญหาสภาวะแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเรียน
มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน เป็นผลทำให้ต้องขาดเรียนบ่อย เรียนไม่ทันเพื่อน
กินยารักษาโรคบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วง
ครอบครัวหย่าร้าง พ่อแม่ทะเลาะกัน ทำร้ายร่างกาย ตบตี กระทำทารุณ
ครูไม่เอาใจใส่เด็ก
ถูกเพื่อนแกล้ง
หากพบว่าการบกพร่องด้านการเรียนรู้ ไม่ได้เกิดจากปัญหาสภาวะแวดล้อมเหล่านี้ ก็จะทำการทดสอบไอคิว ถ้าผลออกมาว่า การอ่าน การเขียน การฟัง ไม่สัมพันธ์กับไอคิว เด็กอาจจะเป็นโรคแอลดี และอาจมีปัญหาที่สมองของเด็กจริง
การช่วยเหลือทางจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว
พ่อแม่จะต้องช่วยให้เด็กผ่านช่วงวัยเรียนไปให้ได้ เพราะเมื่อผ่านได้แล้ว เด็กไม่ได้ต้องสอบ ปัญหาต่างๆ ก็จะลดน้อยลงไปตามวัย
สร้างให้ช่วงวัยเรียนของเด็กมีความสุขที่สุด มีปัญหาน้อยที่สุด ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ คิดว่าตนเองมีคุณค่า นับถือตัวเอง และภาคภูมิใจในตนเอง
พ่อแม่ต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับเรื่องของ อีคิว (EQ) มากกว่าผลการเรียนดีเลิศของเด็ก
พ่อแม่ต้องใจเย็น ใช้ความอดทนสูง ให้ความรักและเข้าใจเด็ก ไม่ดุด่า ไม่หยิก ไม่ตี
พ่อแม่ต้องไม่คาดหวังมาก สร้างให้เด็กสามารถมีชีวิตได้เองโดยลำพัง ไม่เป็นภาระของผู้อื่น สามารถอยู่ในสังคมได้
ปลอดภัยจากสารพิษ เล่นเด็กเล่นอยู่ในสถานที่ปลอดภัย ห่างไกลมลพิษ ไม่ให้อยู่ในสถานที่ๆ มีสารตะกั่วนานเกินไป อย่างริมถนนที่รถพลุกพล่าน ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง
เวลาทองของครอบครัว คุณพ่อคุณแม่มีบทบาทสำคัญในการจัดสรรเวลาของครอบครัว มีกิจกรรมทำร่วมกัน เช่น การเล่นบทบาทสมมติ การอ่านหนังสือ เล่านิทาน สอนให้เด็กมีทักษะการคิด การคำนวณ ขีดเขียนวาดภาพ หรือเล่นเกมสังเกตและทายสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น
งานบ้านฝึกสมอง ให้เด็กช่วยทำงานบ้านง่ายๆ ที่ส่งเสริมทักษะการใช้ความคิด และกระตุ้นพัฒนาการของสมองอย่างสม่ำเสมอ ช่วยจัดช้อนส้อม เก็บจานชามเข้าที่ หรือช่วยจัดโต๊ะอาหาร เป็นต้น
การช่วยเหลือทางด้านการเรียน
แพทย์จะประสานกับโรงเรียน แจ้งผลการตรวจแก่ครู และขอความร่วมมือในการปรับวิธีการเรียนการสอนให้เหมาะสม
เรียนในโรงเรียนที่ครูเข้าใจและพร้อมจะช่วยเหลือ ถือเป็นหัวใจสำคัญ หากครูเข้าใจและให้ความร่วมมือ เด็กจะรู้สึกดีต่อตัวเองและรู้ตัวว่าสามารถเรียนหนังสือได้
พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู จะต้องเข้าใจ พยายามช่วยเหลือเด็ก สร้างให้เด็กมั่นใจในตัวเอง รวมกลุ่ม และทำงานกับเพื่อนได้
การอ่าน ครูต้องช่วยอ่านโจทย์ให้ฟังเวลาสอบ เด็กจะสามารถเข้าใจและตอบข้อสอบนั้นได้
ปรับวิธีการสอน การอ่านคำ เช่น แทนที่จะสอนให้รู้จักการผสมคำ ต้องสอนให้ใช้วิธีจำเป็นคำๆไป
กระตุ้นสมองด้วยจินตนาการ ด้วยการเล่น โดยเฉพาะการเล่นจากการใช้จินตนาการ ฟังนิทาน ต่อบล็อก และอื่นๆ ที่จะให้เด็กใช้จินตนาการ หลีกเลี่ยงการให้เด็กเล่นเกม คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ เพราะจะเป็นการปิดการจินตนาการของเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น